ประกาศ

รพ.สต.ปิยามุมังให้บริการฉีดวัคซีนทุกวันพุธที่ 2 และที่ 3

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

   โรคคอตีบ เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียโครินแบคทีเรียมดิพทีเรีย (Corynbacterium diphtheriae) ติดต่อโดยทางเสมหะ เช่น การจามหรือไอ ระยะฟักตัวสั้นประมาณ 2-5 วันทำให้เกิดการอักเสบมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายรุนแรงจะมีตีบตันของระบบทางเดินหายใจ อาการเริ่มแรกจะมีไข้ต่ำๆ คล้ายไข้หวัดในระยะแรก ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อขาวปนเทาติดอยู่บริเวณทอนซิลและบริเวณลิ้นไก่ ทำให้ทางเดินหายใจตีบตันหายใจลำบาก นอกจากจะทำให้การอุดตันของทางเดินหายใจแล้ว เชื้อโรคจากคอและหลอดลมจะปล่อยพิษออกมาในกระแสเลือด ทำให้หัวใจอักเสบได้ อาการหัวใจอักเสบเกิดได้รวดเร็วมาก ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย กินอาหารไม่ได้ อาเจียน หน้าซีด ชีพจรเบาเร็ว เสียงหัวใจเบา ระยะหลังเส้นประสาทหัวใจจะถูกทำลาย ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้สูบฉีดเลือดไม่พอเพียงที่จะไปเลี้ยงร่างกาย ประกอบกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย จึงทำให้หัวใจวาย 
              อย่างไรก็ตามโรคคอตีบป้องกันได้ด้วยการนำบุตรหลานไปรับวัคซีนให้ครบตามกำหนดโดยวัคซีนป้องกันโรคคอตีบจะให้ทั้งหมด 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4 ,6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 ปี และอายุ 12 ปี
              ส่วนกรณีผู้ใหญ่หากมีอาการสงสัย โดยมีไข้ เจ็บคอ หายใจลำบากให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา สำหรับผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าระวังติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดเนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันง่าย และควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อนหรือได้รับแต่ได้รับไม่ครบ
 
คำถาม คำตอบ ของโรคคอตีบ
1. ระยะฟักตัวของโรคนานเท่าไหร่ เมื่อสัมผัสผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบ
           ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง 2-5 วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไป ภายใน สัปดาห์
2.  จะรู้ได้อย่างไรว่าป่วยเป็นโรคคอตีบ 
          จากอาการและอาการแสดง หลังระยะฟักตัวจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบ บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อทับซ้อนกันเกิดเป็นแผ่นเยื่อ (membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ
ตำแหน่งที่จะพบมีการอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ คือ
            -  
ในจมูก ทำให้มีน้ำมูกปนเลือดเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น
            -  
ในลำคอและที่ทอนซิล ซึ่งแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตันหายใจลำบาก ถึงตายได้
            -  
ตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ที่ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู 
 โรคแทรกซ้อน
            1) ทางเดินหายใจตีบตัน
            2) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
            3) ปลายประสาทอักเสบ ทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ
การรักษา
            เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะแพทย์จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นมาก่อนได้รับการรักษา
            1) การให้ diphtheria antitoxin (DAT)* เมื่อแพทย์ตรวจและสงสัยว่าเป็นคอตีบ จะต้องรีบให้ DAT โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ไปทำลาย exotoxin ก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทั้งนี้ โดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 
            ขนาดของ DAT ที่ให้อยู่ระหว่าง 10,000-20,000 หน่วย โดยพิจารณาตามความรุนแรงของโรค
            หมายเหตุ *การให้ antitoxin ต้องทำ skin test
            2) ให้ยาปฎิชีวนะ เพนนิซิลิน ฉีดเข้ากล้ามเป็นเวลา 14 วัน ถ้าแพ้เพนนิซิลิน ให้ erythromycin แทน ยาปฏิชีวนะจะไปทำลายเชื้อ C. diphtheriae
            3) เด็กที่มีโรคแทรกซ้อนจากการอุดกลั้นของทางเดินหายใจ จะต้องได้รับการเจาะคอเพื่อช่วยให้หายใจได้ ส่วนโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและทางเส้นประสาท ให้การรักษาประคับประคองตามอาการโรคแทรกซ้อนทางหัวใจนับเป็นสาเหตุสำคัญของการตายในโรคคอตีบ
            4) เด็กที่เป็นโรคคอตีบจะต้องพักเต็มที่ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2
การป้องกัน
           
 1) ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือdT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน

            2) ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ วัน ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน หรือได้ไม่ครบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ benzathine penicillin 1.2 ล้านหน่วย ฉีดเข้ากล้าม หรือให้กินยา erythromycin 50 มก./กก/วัน เป็นเวลา วัน พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน เมื่อติดตามดูพบว่ามีอาการ และ/หรือตรวจพบเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะดังกล่าว พร้อมกับให้ diphtheria antitoxin เช่นเดียวกับผู้ป่วย
            3) ในเด็กทั่วไป การป้องกันนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 
 ารดำเนินการกับผู้สัมผัสใกล้ชิด
  1. ผู้สัมผัสใกล้ชิด หมายถึง ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน หรือผู้ที่ทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ป่วย
  2. ทำ Throat swab ผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกราย ทั้งที่มีอาการป่วยและไม่มีอาการป่วย
  3. ให้ยาปฏิชีวนะกับผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกราย ทั้งที่มีอาการป่วย และไม่มีอาการป่วย
  4. เฝ้าติดตามระวังอาการป่วยในผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ยังไม่มีอาการทุกวัน เป็นเวลา 14 วัน
  5. ติดตามการกินยาให้ครบตามขนาด เป็นเวลา 14 วัน
  6. เจ้าหน้าที่หน่วยบริการปฐมภูมิ แจ้ง อสม.ให้สำรวจบ้าน ถ้าพบผู้ป่วย มีไข้ เจ็บคอ ให้พามาตรวจที่ หน่วยบริการปฐมภูมิ
  7. กรณีพบผลบวกต่อเชื้อคอตีบ โดยไม่มีอาการ เรียกว่าพาหะของโรค(Carrier)
  8. ดำเนินการค้นหาผู้สัมผัสของพาหะ(เสมือนเป็นผู้ป่วยรายใหม่)
  9. ทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจนครบตามกำหนด หลังจากนั้นให้ทำ Throat swab ซ้ำจนกว่าจะได้ผลลบอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน 24 ชั่วโมง
  10. ทำการแยกพาหะออกจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น    เด็กเล็ก ผู้ที่ยังไม่ได้วัคซีน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
                     เอกสารอ้างอิง 
                    1. Heymann DL. Control of communicable disease in manual.(19 thedition).  Washington DC :  American Public Health Association 2008.
                    2.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามผู้ป่วยโรคติดเชื้อประเทศไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข ว2546.
                    เรียบเรียงโดย นางประกาย พิทักษ์ ภาพจากInternet